ตัวไรฝุ่น

2020-03-27
ตัวไรฝุ่น คือ อะไร
     ตัวไรฝุ่น คือ สัตว์ที่มีขนาดเล็กมาจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เป็นสัตว์จำพวกแมลงแต่มีลักษณะคล้ายกับแมงมุม เห็บ หมัด และ มีขา 8 ขา ชอบอาศัยอยู่ในบ้านของเรา ขนาดของไรฝุ่นจะวัดได้ 1 ส่วน100 ของความยาวที่เป็นนิ้ว ซึ่งเทียบแล้วคือเล็กกว่าปากกาที่จุดลงบนกระดาษอาหารของตัวไรฝุ่น คือ เซลล์ผิวหนังของคนและสัตว์เลี้ยงที่หลุดลอกออกมา ผิวหนังของคนนั้นโดยทั่วไปจะหลุดลอกวันละประมาณ 1.5 กรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่มากพอที่จะเลี้ยงตัวไรฝุ่นให้เจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี นอกจากอาหารที่ได้จากคน ไรฝุ่นยังอาศัยพวกใยผ้าและขนสัตว์กินเป็นอาหารได้ด้วย
     ตัวไรฝุ่นไม่มีตาที่มองเห็น และไม่มีระบบหายใจ ตัวไรฝุ่นชอบอยู่ในที่อุ่น ชื้น และเต็มไปด้วยฝุ่นละออง อุปกรณ์การนอน เช่น หมอนหนุน ที่นอน พรม และเฟอร์นิเจอร์ผ้า เป็นสถานที่ที่ดีอย่างยิ่งสำหรับครอบครัวไรฝุ่น ตัวไรฝุ่นจะปล่อยมูลของเสียของมันออกมาประมาณวันละ 20 ก้อน และสภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการสืบพันธุ์ของพวกมัน คือ ที่นอนที่มีความอบอุ่น ชื้น และมืดของเรานั่นเอง ไรฝุ่นเพศเมียจะวางไข่วันละ 60-100 ฟอง

พบเจอตัวไรฝุ่นง่ายๆ ได้ที่ไหนบ้าง
     ที่ไหนที่มีคนและสัตว์ มีความอุ่น มีอุณหภูมิความชื้นพอเหมาะที่ระดับ 60 % ที่นั่นคือที่อยู่อาศัยของไรฝุ่น ตัวไรฝุ่นชอบอยู่ในที่ที่ดังต่อไปนี้เป็นที่สุด กล่าวคือ
1.    ที่นอน 
2.    เฟอร์นิเจอร์ทำจากวัสดุเส้นใยผ้า 
3.    พรมปูห้อง พรมปูพื้น 
4.    ผ้านวม 
5.    หมอน
6.     ตุ๊กตาของเล่นที่ทำจากผ้า 
7.    และทุกอย่างที่มีเส้นใยผ้ามาเกี่ยวข้องด้วย
 
     โดยเฉลี่ยแล้ว เตียงนอน 1 เตียง สามารถเลี้ยงดูตัวไรฝุ่นได้หลายล้านตัว พวกเราใช้เวลานอนบนที่นอนกันประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งผิวของเราได้สัมผัสอย่างใกล้ชิดและยาวนานกับมูลของไรฝุ่นที่มีสารทำให้เกิดภูมิแพ้
     มีรายงานเกี่ยวกับตัวไรฝุ่นทั่วโลก ซึ่งสายพันธุ์จำนวน 13 สายพันธุ์เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย ไรฝุ่นมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 30 วัน และตัวเมียวางไข่วันละ 1 ฟอง จำนวนของตัวไรฝุ่นจะเพิ่มมากที่สุดในช่วงฤดูร้อนในสภาพอากาศที่ร้อนชื้นและลดจำนวนลงเหลือน้อยที่สุดในช่วงฤดูหนาวตัวไรฝุ่นก็เหมือนกับสัตว์ที่เป็นพาหะของโรค จะแพร่กระจายอย่างดีในสภาพบ้านที่อากาศถ่ายเทไม่ดีและตัวไรฝุ่นก็อาจจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ใหญ่ขาดงาน เด็กๆ ขาดเรียน เนื่องจากแพ้มูลของมัน ทำให้เกิดอาการจามอย่างหนัก เกิดปฎิกิริยากระตุ้นภูมิแพ้ มีการคันตามผิวหนัง น้ำตาไหล ไอ เวียนศีรษะ หมดแรง หายใจไม่สะดวก และมีปัญหาระบบย่อยอาหาร
ตัวไรฝุ่นทำให้เกิดโรคภูมิแพ้อย่างไร 
     คนที่แพ้ไรฝุ่น หมายถึง คนที่มีปฎิกิริยาต่อโปรตีนในตัวและในมูลของไรฝุ่น ภูมิแพ้ไรฝุ่นคือ ปฎิกิริยาที่ไวต่อโปรตีนของตัวไรฝุ่นที่ตายแล้ว โปรตีนดังกล่าวจะมีผลเสียต่อทางเดินหายใจทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบรุนแรงและโรคหอบหืด และยังทำให้คนที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคผิวหนังอักเสบมีอาการของโรคมากขึ้น
ตัวไรฝุ่นที่ตายจะมีจำนวนโปรตีนจำนวนมาก เมื่อเราสูดลมหายใจหรือผิวหนังของเราสัมผัสกับตัวไรฝุ่นที่ตาย ร่างกายของเราก็จะสร้างภูมิต้านทาน (antibodies) ขึ้นมา ภูมิต้านทานนี้จะปล่อยสารเคมีที่เรียกว่า ฮีสตามีน ซึ่งทำให้เกิดการบวมและการระคายเคืองของทางเดินหายใจตอนต้น นั่นก็คืออาการของโรคทางเดินหายใจอักเสบและโรคหอบหืด และภูมิแพ้นี้ยังสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้อีกด้วย

สารก่อภูมิแพ้ของไรฝุ่นอาจเป็นสาเหตุของโรคต่อไปนี้
  • โรคทางเดินหายใจอักเสบตลอดปี
  • โรคตาอักเสบ (ตาระคายเคือง)
  • โรคจมูกอักเสบ (น้ำมูกไหลและมีการจาม)
  • โรคหอบหืด (ไอและมีปัญหาระบบทางเดินหายใจ) , โรคหอบหืดในระยะต่อไป
  • โรคผิวหนังอักเสบ (ปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง เช่น มีผื่นแดงและคัน)
  • โรคปวดศีรษะ
  • โรคผื่นคัน
การควบคุมตัวไรฝุ่นในห้องนอน 
     คนเราใช้เวลาอยู่ในห้องนอนมากกว่าสถานที่อื่นๆ สำหรับคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ไรฝุ่นนั้นเป็นเรื่อง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาวิธีการลดฝุ่นในห้องนอนลง ทั้งนี้ตัวไรฝุ่นจะเติบโตได้อย่างดีในที่นอน หมอน และเครื่องนอนที่ใช้อยู่ ต่อไปนี้เป็นวิธีการที่ได้ผลในการลดไรฝุ่นในห้องนอน :
  • ใช้วัสดุที่เป็นไม้ปูพื้น และยกเฟอร์นิเจอร์ที่ทำด้วยผ้าออกไป
  • คลุมที่นอน หมอน ด้วยผ้าคลุมพลาสติก (หรือผ้าคลุมป้องกันไรฝุ่น)
  • ซักผ้าปูที่นอนและผ้าห่มทุกๆ 2-4 สัปดาห์ในน้ำร้อน
  • เช็ดทำความสะอาดบานเกล็ดม่าน และถูพื้นด้วยผ้าชื้นทุกๆ สัปดาห์
  • นำของเล่น สมุดหนังสือ และสัตว์สตั๊ฟออกนอกห้อง

การควบคุมตัวไรฝุ่นในบ้าน
1.    พยายามลดความชื้นในบ้าน
2.    ซักเครื่องนอนด้วยน้ำร้อน
3.    จัดเตียงในช่วงสายของวันและเปิดหน้าต่างให้อากาศผ่านเข้ามา
4.    คลุมที่นอนและหมอนด้วยวัสดุที่มีรูของใยผ้าขนาดเล็กกว่าไรฝุ่นเพื่อป้องกันตัวไรฝุ่น
5.    พยายามกำจัดไอน้ำที่เกิดจากการอาบน้ำและการทำอาหารโดยการเปิดหน้าต่างให้ลมเข้าถ้าเป็นไปได้
6.    เปิดหน้าต่างในขณะที่ทำความสะอาดเพื่อให้สารก่อภูมิแพ้ต่างๆ ถูกลมพัดออกไป
7.    อย่านำถุงเก็บฝุ่นกลับมาใช้อีกครั้ง และถ้าเป็นไปได้ให้ใช้เครื่องดูดฝุ่นที่มีถุงกรองฝุ่นอย่างดี
8.    ของเล่นต่างๆ หรือของชิ้นเล็กควรจะนำไปแช่ไว้ในตู้เย็นหรืออบร้อนในเครื่องอบผ้าเพื่อฆ่าตัวไรฝุ่น
9.    ตัวไรฝุ่นไม่ชอบแสงอาทิตย์ ดังนั้นปล่อยให้อากาศเข้าบ้านและเอาพรมหรือผ้าห่มไปตากแดดบ้างในวันที่แดดออก

วิธีง่ายๆ ที่ได้ผลในการหลีกเลี่ยงตัวไรฝุ่น
1.    ใช้ผ้าที่ทออย่างแน่นคลุมเครื่องนอน ผ้าชนิดนี้ทำจากเส้นใยธรรมชาติ หรือการผสมผสานกันระหว่างเส้นใยธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห์ เส้นใยที่ทออย่างแน่นนี้จะมีช่องระหว่างเส้นใยเล็กมากจนตัวไรฝุ่นและมูลของมันไม่สามารถผ่านเข้าไปในที่นอนได้ มีแต่อากาศเท่านั้นที่ยังผ่านได้ปกติซึ่งจะทำให้ผู้ที่นอนเกิดความรู้สึกสบายตัว
2.    ใช้วัสดุสังเคราะห์ เช่น การใช้วัสดุอย่างเช่น โพลีพร็อพพีลีนที่ทอเป็นเส้นใย 3 ชั้นที่พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพและให้ความสบาย วัสดุเหล่านี้จะทำหน้าที่เหมือนกับตาข่ายที่ดักจับตัวไรฝุ่นและมูลของมัน อีกทั้งยังระบายลมและความชื้นได้ดี
3.    วัสดุประเภทเคลือบไวนิล/ยูรีเทน หรือเคลือบสารอื่นๆ วัสดุเหล่านี้เป็นจำพวกที่อากาศไม่สามารถระบายได้ ถึงแม้จะกันไม่ให้ตัวไรฝุ่นและสารก่อภูมิแพ้ผ่านเข้าสู่ที่นอนได้ แต่ก็จะทำให้ผิวของเราเกิดความร้อน เหนียวเหนอะ และนอนไม่สะดวกสบาย เนื่องจากความชื้นบนผิวร่างกายเราไม่อาจซึมผ่านวัสดุได้ วัสดุที่เคลือบด้วยไวนิลหรือยูรีเทนอาจจะทำให้เกิดกลิ่นหรือปล่อยสารเคมีสู่อากาศได้

บทความที่น่าสนใจ
1.    ความสำคัญของการป้องกัน โรคภูมิแพ้ อุบัติการของ โรคภูมิแพ้ หอบหืด จากการสำรวจทั่วโลกและการสำรวจในประเทศไทยเอง พบว่า เพิ่มขึ้น 3 – 4  เท่า ภายในระยะเวลา 40  ปีที่ผ่านมา ขณะนี้ประเทศไทย มีอุบัติการของโรคภูมิแพ้โดยเฉลี่ยดังนี้ คือโรคจมูกอักเสบจาก ภูมิแพ้ ร้อยละ 23-30,   โรคหลอดลมอักเสบจาก ภูมิแพ้ หรือโรคหอบหืด ร้อยละ 10-15, โรคผื่นผิวหนังอักเสบจาก ภูมิแพ้ ร้อยละ 15 และโรคแพ้อาหารร้อยละ 5  โดยอุบัติการณ์ในเด็กจะสูงกว่าในผู้ใหญ่
2.    โรคภูมิแพ้ นั้น ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแย่กว่าคนปกติ 
เช่นไม่สามารถนอนหลับได้ตามปกติ, เรียนและทำงานได้ไม่เต็มที่และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น ไซนัสอักเสบ, ริดสีดวงจมูก, หูชั้นกลางอักเสบ, นอนกรน, ปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ผิวหนังติดเชื้อ  กล่าวโดยสรุปหากผู้ป่วยเริ่มมีอาการ หรือมีปัจจัยเสี่ยงควรรีบ แก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุโดยเร็วที่สุดโดยพิจารณาจากผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติ และมีความน่าเชื่อถือเป็นอันดับแรก
ผศ. นพ. ปารยะ   อาศนะเสน สาขาโรคจมูกและโรคภูมิแพ้คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
แหล่งข้อมูล : Siriraj E-Public Library - www.si.mahidol.ac.th
3.    อุปกรณ์กำจัดไรฝุ่นใช้ได้ผลเพียงเล็กน้อย ลอนดอน 18 เม.ย. - ผู้เชี่ยวชาญระบุผู้ที่ป่วยเป็นโรคหืดหอบ ไม่จำเป็นต้องเสียเงินไปซื้อหาผ้ารองที่นอนแบบพิเศษ หรืออุปกรณ์ทำความสะอาดในระบบสูญญากาศ เพื่อใช้กำจัดไรฝุ่น เพราะผลการศึกษาพบว่า อุปกรณ์พิเศษเหล่านี้กำจัดไรฝุ่นได้น้อยมาก  ผู้ป่วยเป็นหืดหอบจำนวนมาก จะมีอาการแพ้ไรฝุ่น แมลงตัวเล็กๆ ซึ่งอาศัยอยู่ร่วมกับฝุ่นที่เกาะอยู่ตามพรม เตียงนอน และตุ๊กตาขนฟู ผลการศึกษาของกลุ่มวิจัยภายใต้ชื่อ “ค็อกเครน คอลลาโบเรชั่น” ซึ่งได้ไปศึกษากับประชาชน 3,000 คน และยังตรวจสอบผลการศึกษาที่ทำก่อนหน้านี้อีก 54 ชุด เพื่อประเมินประสิทธิภาพของวิธีกำจัดไรฝุ่นที่ใช้กันอยู่ ว่าได้ผลมากน้อยเพียงใ
วิธีกำจัดไรฝุ่นที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ก็มีทั้งการใช้ผ้ารองที่นอนแบบกันไรฝุ่นได้ การจ้างผู้เชี่ยวชาญมากำจัดไรฝุ่น การใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดด้วยระบบสูญญากาศ และการใช้เครื่องฟอกอากาศ แต่ผลการศึกษากลับพบว่า วิธีกำจัดไรฝุ่นที่ใช้กันอยู่ แม้จะช่วยให้ไรฝุ่นลดจำนวนลง แต่ก็น้อยมาก ไรฝุ่นที่เหลืออยู่ยังมีปริมาณมากพอที่จะทำอันตรายต่อผู้ที่ป่วยเป็นหืดหอบ ด้วยเหตุนี้ นักวิจัยจึงสรุปว่า ไม่มีความจำเป็นต้องไปซื้อหาอุปกรณ์ราคาแพง ผ้ารองที่นอน หรือสารเคมีกำจัดไรฝุ่นแบบพิเศษ เพราะวิธีการเหล่านี้ ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า กำจัดไรฝุ่นไม่ได้ผล ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า การทำความสะอาดผ้าปูที่นอนด้วยอุณหภูมิที่สูงจัด รวมถึงการเอาตุ๊กตาขนปุยออกจากเตียงนอน น่าจะเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุดสำหรับการกำจัดไรฝุ่นให้ห่างไกลจากผู้ที่ป่วยเป็นหอบหืด. –สำนักข่าวไทย MCOT News 18 เมย 51
4.    จากหิ้งสู่ห้าง: สเปรย์จากสมุนไพรไทย กำจัดไรฝุ่น 100%
นักวิจัยไทยประสบความสำเร็จสกัดน้ำมันหอมระเหยจากอบเชยและกานพลู สามารถกำจัดไรฝุ่นได้ 100% เอกชนรับไม้ต่อผลิตเป็นสเปรย์กำจัดไรฝุ่น
     ผลงานวิจัยสเปรย์น้ำมันหอมระเหยกำจัดไรฝุ่นพัฒนาโดย ดร.อำมร อินทร์สังข์ และนายจรงค์ศักดิ์ พุมนวน คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยได้รับทุนจากโครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากร ชีวภาพในประเทศ  (BRT) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การสนับสนุนของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ แห่งชาติ (ไบโอเทค) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

ทีมวิจัยได้ทดลองสกัดเฉพาะน้ำมันหอมระเหยจากพืช 8 ชนิด ได้แก่ 
1.    กานพลู 
2.    อบเชย 
3.    ขมิ้นชัน 
4.    ไพล 
5.    ตะไคร้หอม 
6.    พริกไทยดำ 
7.    โหระพา 
8.    มะพร้าว 
     แล้วนำไปทดสอบฤทธิ์กำจัดไรฝุ่นชนิด เดอร์มาโทฟาโกอิดีส เทอโรนีสซินัส (Dermatophagoides pteronyssinus)โดยพบว่าน้ำมันหอมระเหยจากกานพลูและอบเชยที่ความเข้มข้น 1.0% สามารถกำจัดไรฝุ่นได้ 100% รองลงมาคือน้ำมันหอมระเหยจากขมิ้นชัน ไพล และตะไคร้หอม ที่ความเข้มข้น 1.5% กำจัดไรฝุ่นได้ 93.3%, 90.0% และ 76.7% ตามลำดับ ทีมวิจัยจึงเลือกใช้น้ำมันหอมระเหยจากกานพลูและอบเชยเป็นส่วนประกอบหลักใน การผลิตสเปรย์กำจัดไรฝุ่น โดยมีน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรอื่นเป็นส่วนประกอบรอง พร้อมทั้งได้ทดลองแต่งกลิ่นด้วยน้ำมันหอมระเหยจากลาเวนเดอร์ ยูคาลิปตัส กาแฟ และมะลิ ซึ่งจากการทดสอบประสิทธิภาพก็ยังสามารถกำจัดไรฝุ่นได้ 100% เช่นเดิม และไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้
     ทั้งนี้ ทีมวิจัยได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรสูตรน้ำมันหอมระเหยกำจัดไรฝุ่นดังกล่าวแล้ว เมื่อปี 2551 และได้อนุญาตให้บริษัท คนดี กรุ๊ป จำกัด ผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องนอนเพื่อสุขภาพ และบริษัท ไทยเฮิร์บ เทค จำกัด ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สมุนไพร นำผลงานดังกล่าวไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ โดยคาดว่าจะวางตลาดประมาณต้นปี 2553 หลังจากที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำหรับราคาจำหน่ายจะอยู่ประมาณ 150-180 บาท ในปริมาณ 250 มิลลิลิตร
     อนึ่ง ไรฝุ่นพบได้ทั่วไปในธรรมชาติ แต่เนื่องจากมีขนาดเพียง 0.3 มิลลิเมตร จึงมองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ไรฝุ่นชอบอาศัยในที่อุณหภูมิประมาณ 25-30 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสูงร้อยละ 60-70 แต่ไม่ชอบแสงสว่าง โดยมักพบอยู่ในที่นอน หมอน ผ้าห่ม พรม และผ้าม่าน เป็นต้น ซึ่งไรฝุ่นกินเศษขี้ไคล ขี้รังแค สะเก็ดผิวหนังเป็นอาหาร โดยเศษผิวหนัง 1 กรัม สามารถเลี้ยงไรฝุ่นได้ถึง 1 ล้านตัว นาน 1 สัปดาห์ นอกจากนี้ยังพบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคภูมิแพ้เนื่องจากไรฝุ่นสูงถึง 10 ล้านคน ซึ่งสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาราว 36,000 บาทต่อคนต่อปี

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับไรฝุ่น
     คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับไรฝุ่น มีบางส่วนที่ถามคล้ายๆกัน จึงได้รวบรวมตอบคำถามไว้เพื่อให้มีความเข้าใจไรฝุ่นได้กระจ่างขึ้น และสามารถนำข้อมูลไปตอบผู้สนใจได้อย่างถูกต้องและยังนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย
1.    ไรฝุ่น กับ ไรอื่นๆ เหมือนกันไหม?
ตัวไร (mite) มีหลายชนิด ทั้งไรคน เช่น ไรขุมขน ไรสัตว์ เช่น ไรนก ไรหนู สำหรับไรที่อยู่ตามฝุ่นบ้านเรือน จึงมักเรียกว่า ไรฝุ่นบ้าน (house dust mite) มูลของไรจำพวกนี้เป็นโปรตีนที่มีคุณสมบัติเป็นสารก่อภูมิแพ้หรือเรียกว่า allergen สามารถก่อโรคภูมิแพ้แก่คนได้
2.    ไรฝุ่นกัดหรือดูดเลือดไหม? เพราะตอนนอนรู้สึกคัน
ไรฝุ่น ไม่กัด ไม่ต่อย เพราะปากไม่เป็นลักษณะแทงดูด (Piercing & sucking mouthpart) สำหรับบางคนอาจมีอาการคัน เพราะระคายเคืองสารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่นก็ได้
3.    นำฟูก หมอน ออกตากแดด ฆ่าไรฝุ่นได้ไหม? 
ความร้อนที่ 55-60 องศาเซลเซียส นาน 20 นาทีสามารถฆ่าไรฝุ่นได้แต่ไม่ทำลายสารก่อภูมิแพ้ อากาศกลางแดดเปรี้ยงๆหน้าร้อนจะประมาณ 40-41 องศาเซลเซียส และความร้อนสูงสุดของวันจะเป็น ช่วงบ่าย 2 โมง อุณหภูมิภายในฟูกไม่สูงพอที่จะฆ่าไรได้ มันชาญฉลาดกว่าที่คิด เพราะเมื่อพลิกที่นอนกลับอีกด้าน มันจะหนีลงไปอยู่ในที่ร้อนน้อยกว่า อย่างไรก็ตามพบว่าการตากแดดช่วยทำให้ความอับชื้นในที่นอนลดลง และถ้าตากแดดนานติดต่อกัน 5 ชั่วโมงจะทำให้สภาวะไม่เหมาะแก่การฟักตัวของไข่ไรฝุ่น
4.    เครื่องดูดฝุ่นแรงดีๆ ดูดไรฝุ่นได้หมดเลยไหม?
ไรฝุ่นมีขาอันแข็งแรงในการรวบจับเส้นใย และไม่ได้มี 2 ขานะ แต่มี 8 ขา ฉะนั้น สามารถยึดตัวไว้กับเส้นใย ต้านแรงดูดจากเครื่องดูดฝุ่น ตัวไรจึงหลุดออกมาได้ยากมาก อย่างไรก็ตามสามารถดูดซาก และมูลไรได้ ความสำคัญอยู่ที่ถุงเก็บฝุ่น ควรเป็นถุงที่หนา หรือ double bag หรือ ใช้เครื่องที่มีแผ่นกรองที่เรียก HEPA filter จะกั้นไม่ให้ฝุ่นละเอียดเล็ดลอดออกมาอีก ช่วยลดความฟุ้งกระจาย ไม่ควรให้ผู้ป่วยดูดฝุ่นเอง หรืออาจใช้วิธีอื่นแทน เช่น ใช้ผ้าชุบน้ำหมาดทำวามสะอาด
5.    ที่ไหนๆก็มีไรฝุ่นใช่ไหม? จะกำจัดให้หมดไปได้หรือเปล่า?
ไรฝุ่นเป็นสัตว์คู่โลก บ้านสะอาดแค่ไหนก็มีไรฝุ่น ดังนั้นไม่ต้องตกใจเกินเหตุ เราสามารถอาศัยในบ้านเดียวกันได้ เพียงแต่ผู้ที่เป็นภูมิแพ้ ก็ใส่ใจเป็นพิเศษหน่อย เพิ่มความขยันทำความสะอาดมากกว่าผู้ไม่แพ้สักหน่อย ก็จะสามารถมีชีวิตอันปกติได้ ควรใส่ใจห้องนอนมากเป็นพิเศษ และหาทางหลีกเลี่ยงสารแพ้ โดยวิธีง่ายๆ งบประมาณตามเศรษฐานะของตน ไม่จำเป็นต้องดิ้นรนซื้อของแพงแต่ประโยชน์น้อยมาใช้
6.    . ขอทราบวิธีง่ายๆที่ป้องกันไรฝุ่นได้? เอาอย่างง่ายๆ
- ขยันเช็ดฝุ่นด้วยผ้าชุบน้ำหมาดๆ
- ย้ายของรกออกจากห้องนอน อย่าให้มีมุมเก็บฝุ่น
- หาผ้าพลาสติก มาสวมคลุมที่นอนและหมอน
- อะไรที่ซักได้ ตากแดดได้ ให้ทำทุก 2 สัปดาห์
วิธีอื่นๆยังมีอีก ทำไปแล้วไม่เดือดร้อน เพิ่มได้ก็ไม่ว่ากัน

ผลิตภัณฑ์ในตลาดปัจจุบัน
1.    ไฮไลท์
     สเปรย์กำจัดไรฝุ่น PUMI ด้วยส่วนผสมของ แอลกอฮอล์ น้ำมันหอมระเหยกานพลู ลาเวนเดอร์ ส้ม มะกรูด มะนาว โรสแมรี่ ช่วยให้ผ่อนคลายหลับสบาย พร้อม ไกลห่างจากภูมิแพ้ ด้วยการกำจัดที่ต้นเหตุ คือที่นอนของเรา โรคภูมิแพ้อาการ หวัดทั้งปี น้ำมูก ไอ จาม คัน ผื่นแดง 

2.    ไมท์ เฟียร์ : สเปรย์สมุนไพรกำจัดไรฝุ่น 100%
     สูตรสมุนไพรที่ผลิตจากกานพลูและ อบเชย  ภายใต้สิทธิบัตรเลขที่คำขอ 0801005026 และ 0801005027  ของ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

3.    Dust Mite Cleaner ผลิตภัณฑ์กำจัดไรฝุ่น
กำจัดไรฝุ่น และป้องกันโรคภูมิแพ้ สามารถฆ่าไรฝุ่นได้ 100% ด้วยสารสกัดสมุนไพรไทย 10 ชนิด และยังช่วยลดการเกิดภาวะภูมิแพ้ที่มาจากไรฝุ่น
 
ผลิตภัณฑ์กำจัดไรฝุ่น ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย  ผลงานวิจัยและ
การรับรองประสิทธิภาพ
ความสะดวก
ในการใช้งาน
ราคา
1.ผ้ากันไรฝุ่น น้อยกว่า 5 % / - / ปานกลาง
2.ที่นอนกำจัดไรฝุ่น
2.1 ผ้าทอแน่น 30-60% / - - สูงมาก
2.2 ผ้าทอคุณภาพต่ำ (ผ้าใยอัดแน่น)  10-30%
(ยิ่งนาน ยิ่งเสื่อมคุณภาพ)
/ - - ปานกลาง-สูง
3. เครื่องนอนกันไรฝุ่น เคลือบสารกันไรฝุ่น
(Microban/Actiguard)
30-50% / ? - สูง-สูงมาก
4. เครื่องดูดฝุ่น
4.1 เครื่องดูดฝุ่นทั่วไป 5-10% ? - / ปานกลาง-สูง
4.2 เครื่องดูดฝุ่นชนิดแผ่นกรอง
(HEPR-High EfficieneyParticulate Dir)
30-50% / ? - สูงมาก
5. เครื่องกรองอากาศ/เครื่องฟอกอากาศ 30-50% / ? / สูงมาก
6. น้ำยากำจัดไรฝุ่นแบบฆ่าตัวไรฝุ่น
(เคมีประเภท Benzyl Benzoate /Pyrethrun Natamycin,อื่นๆ)
30-50% - / / ปานกลาง-สูง
7. สารสกัดจากธรรมชาติ
7.1 ไม่ระบุประเภทสารสกัด 30-50% / - / ปานกลาง-สูง
7.2 น้ำมันหอมระเหยสกัดจากการพลูและอบเชย 98-100% / / / ต่ำ-ปานกลาง