พืชสมุนไพร

2020-03-27
พืชสมุนไพร
พืชสมุนไพรสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น
1. Aromatherapy
2. Oils for massage
3. Vitamins/supplements
4. Essential oils
5. Sports medicinal products
6. Smart beverages
7. Functional foods
8. Personal-care products
9. Hair-care products
10. Oral hygiene
11. Baths and gels
12. Skin care
13. Obesity
14. Honey and syrups
15. Pet foods

ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร (herbal medici-nal products) อาจจะแบ่ง เป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 4 กลุ่ม คือ
1. Phytopharmaceuticals (ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในรูปยาแผนปัจจุบัน)
2. Herbal medicines (ยาแผนโบราณ)
3. Nutraceuticals (อาหารเสริม)
4. Cosmeceuticals (เครื่องสำอางจากสมุนไพร)

ส่วนแบ่งการตลาดของ phytopharma-ceuticals เป็นดังนี้
1. ประมาณ 25 % ของ prescription drugs (119 ตัวยา) มาจากพืชสมุนไพรประมาณ 90 species และมีอัตราการเจริญเติบโตมากกว่า 6.3 %
2. มีการคาดคะเนว่าในทศวรรษหน้าประมาณ 30 % ของ prescription drugs จะมา
จากพืชสมุนไพร
3. บริษัทยาทั่วโลกได้ทุ่มเทงบประมาณด้านการวิจัยเป็นจำนวนมากเพื่อแสวงหายาใหม่ ๆ

ผลิตภัณฑ์แชมพูที่มักจะมีส่วนผสมทำมาจากสารเคมีเป็นส่วนมาก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขจัดความสกปรก เพิ่มกลิ่น สี หรือคุณสมบัติอื่นๆ ให้แก่ผลิตภัณฑ์แชมพู โดยที่สารเคมีต่างๆที่เป็นส่วนผสมนั้น บางชนิดอาจก่อ ให้เกิดภาวะการระคายเคืองต่อหนังศีรษะ ผิวหนัง ทำลายเส้นผม เกิดอาการแพ้ ไปจนถึงขั้นเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะทาให้เป็นโรคมะเร็งที่หนังศีรษะได้ในระยะยาว ซึ่งในปัจจุบันผู้บริโภคทั่วโลกได้หันมาใส่ใจในสุขภาพมากยิ่งขึ้น โดยส่วนใหญ่มักจะใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ พบว่ามีการนาสารสกัดสมุนไพรมาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์แชมพู ซึ่งมีคุณสมบัติในการทำความสะอาดและบำรุงเส้นผม (Mainkar และ Jolly, 2001) และยังช่วยเพิ่มกลิ่นหอมตามชนิดของสมุนไพรที่นามาใช้ในผลิตภัณฑ์อีกด้วย โดยมีการศึกษากันอย่างกว้างขวางทั้งในระดับชุมชนจนถึงในระดับอุตสาหกรรม การนำสมุนไพรหรือสารสกัดจากสมุนไพรมาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์นั้น จะมีความเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคน้อยกว่าการใช้สารเคมีล้วนๆ อีกทั้งยังได้รับความนิยมและการยอมรับในการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติกันมากขึ้น 

การศึกษาการผลิตและพัฒนาแชมพูที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากสมุนไพร ที่มีฤทธิ์ในการบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ โดยการคัดเลือกสมุนไพรเพื่อใช้ในการศึกษาและทาการสกัดสารสาคัญจากสมุนไพร ได้แก่ ขี้เหล็ก มะกรูด มะคาดีควาย มะระขี้นก ว่านหางจระเข้ และอัญชัน 

โดยได้ทำการคัดเลือกแชมพูดีที่สุด 1 สูตร จากแชมพูจำนวนทั้งสิ้น 20 สูตร เพื่อคัดเลือกสูตรที่ดีที่สุดผสมกับสารสกัดจากพืชสมุนไพร แล้วทำการเก็บรักษาในอุณหภูมิต่างๆ กันคือที่อุณหภูมิ 4, 25 และ 40 OC เป็นระยะเวลา 1 เดือน และให้อาสาสมัครจำนวน 30 คนทำการทดลองใช้และประเมินผลทางด้าน สี กลิ่น ความเป็นเนื้อเดียวกัน การเกิดฟอง และความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ และนำไปประเมินความพึงพอใจในการใช้ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติโดยการใช้ Least Significant Difference Test (LSD) โดยมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแชมพูที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากสมุนไพรชนิดต่าง 
ตลอดจนในปัจจุบันมีการศึกษาวิจัย ถึงองค์ประกอบสาคัญของสารออกฤทธิ์ในสมุนไพรโดยนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญ ทำให้ปัญหาในเรื่องความปลอดภัยต่อผู้บริโภคลดน้อยลง นับว่าเป็นทางเลือกที่ดีสาหรับการพัฒนาตารับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติให้เกิดคุณค่า ทาให้ได้รับการยอมรับและเชื่อถือจากผู้บริโภคและทาให้ผู้บริโภคมีสุขภาพดีมากขึ้น 
งานวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้นำพืชสมุนไพรมาทำการสกัดเพื่อให้ได้สารสกัดจากพืชสมุนไพร 6 ชนิด ได้แก่ 
•    สารสกัดจากขี้เหล็ก
•    สารสกัดมะกรูด 
•    สารสกัดมะคาดีควาย 
•    สารสกัดมะระขี้นก 
•    สารสกัดว่านหางจระเข้ 
•    สารสกัดอัญชัน 
ที่มีสรรพคุณในด้านการบำรุงหนังศีรษะและเส้นผมมาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ลดปริมาณการใช้สารเคมีที่เป็นส่วนผสม เพื่อให้ผลิตภัณฑ์แชมพูที่ผลิตได้มีคุณสมบัติที่ดี ในการบำรุงหนังศีรษะและทำความสะอาดเส้นผม และได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค

ตัวอย่างในการสูตร
Table 1 ส่วนผสมในแชมพูพื้นที่ใช้ในการทดลอง ส่วนผสม

 
ส่วนผสม ร้อยละ
Sodium laureth salfate (28%,g) 42.80
Cocamide DEA 1.38
Cocamidopropyl betaine 5
Lamesoft PO65 3.08
Polyqualt H81 2.64
Nutrilan 3
Triethanolamine  4 drop
Bronidox L 6.2
HPMC 0.2
Water ปรับให้เป็น 100

สรุปผล 
จากการนาสมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการบารุงหนังศีรษะและเส้นผมดังกล่าวทั้ง 6 ชนิดมาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์แชมพูจากการทดสอบข้อมูลทางสถิติสรุปได้ว่า มีความพึงพอใจโดยรวมในการใช้แชมพูสมุนไพรทั้ง 6 ชนิด ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับความเชื่อมั่นเท่ากับร้อยละ 95 ซึ่งจากการนาสารสกัดจากพืชสมุนไพรมาใช้ในผลิตภัณฑ์แชมพูจะเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของแชมพูในด้านการทาความสะอาด ปลอดภัยและป้องกันผมเสียได้เป็นอย่างดี

กลิ่นสมุนไพรที่นิยมใช้ลงในผลิตถัณฑ์แชมพู
•    ผลมะกรูด น้ำจากผลมะกรูดจะมีฤทธิ์เป็นกรด ช่วยสลายไขมันและชะล้างสิ่งสกปรกที่เกาะบนเส้นผมและหนังศีรษะได้ดี (แต่ไม่ควรใช้น้ำมะกรูดชะโลมบนเส้นผมโดยตรงเป็นประจำ เพราะจะทำให้ผมจะเปราะ ขาดง่าย เพราะน้ำมะกรูดเป็นกรดค่อนข้างมาก มีค่า pH ประมาณ 3.5)
 
•    ผิวมะกรูด น้ำมันจากเปลือกผลมะกรูดมีกลิ่นหอม  และช่วยบำรุงให้เส้นผมเป็นเงางาม
  
 •    ผลมะเฟือง น้ำจากผลมะเฟืองมีฤทธิ์เป็นกรด (ค่อนข้างมาก pH 2.5-3) ช่วยสลายไขมันและชะล้างสิ่งสกปรกที่เกาะบนเส้นผมและหนังศีรษะได้ดี  เมื่อนำมาผสมน้ำให้เจือจางลงใช้สระผมจะช่วยบรรเทาอาการคันศีรษะได้ดี (แต่ก็ไม่ควรใช้น้ำมะเฟืองชะโลมบนเส้นผมโดยตรงเป็นประจำเช่นกัน)

•    ผลมะคำดีควาย น้ำที่สกัดจากผลมะคำดีควาย จะมีคุณสมบัติช่วยลดรังแค รักษาอาการชันนะตุและหนังศีรษะที่เป็นเชื้อรา แต่การใช้ต้องระวังไม่ให้เข้าตา เพราะจะแสบมาก

•    ดอกอัญชัน  น้ำที่สกัดจากดอกอัญชัน จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต เมื่อนำมาใช้หมักผม ก่อนสระ 15 นาที หรือใช้ผสมกับแชมพูสระผม เมื่อใช้เป็นประจำ จะช่วยทำให้รากผมแข็งแรงขึ้น เส้นผมไม่หลุดร่วงง่าย

•    ต้นตะไคร้ น้ำที่สกัดจากต้นตะไคร้เมื่อนำมาใช้หมักผมก่อนสระหรือใช้ผสมกับแชมพูสระผม เมื่อใช้เป็นประจำ จะช่วยบรรเทาอาการเส้นผมแตกปลาย ลดรังแคและบรรเทาอาการคันศีรษะ

•    ใบว่านหางจระเข้  เมื่อนำวุ้นใสๆ ที่ได้จากใบว่านหางจระเข้ มาใช้หมักผมก่อนสระหรือใช้ผสมกับแชมพูสระผม เมื่อใช้เป็นประจำจะช่วยให้ผมนุ่มสลวย หวีง่ายและช่วยรักษาแผลบนหนังศรีษะ

•    ต้นฟ้าทลายโจร น้ำที่สกัดจากต้นฟ้าทลายโจร (ใบ ต้น ฝัก) จะมีสารยับยังการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรียบางชนิด เมื่อนำมาใช้หมักผมก่อนสระหรือใช้ผสมกับแชมพูสระผม เมื่อใช้เป็นประจำจะช่วยลดอาการเส้นผมหลุดร่วงง่าย